สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส, สมเด็จพระราชินีนาถและสมเด็จพระราชชนนีแห่งโปรตุเกส ของ มาเรียนา_บิกโตเรียแห่งสเปน_สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส

สมเด็จพระราชินีมาเรียนา บิกโตเรียแห่งโปรตุเกส วาดโดย มิเกล อันโตนิโอ โด อมาราล สมเด็จพระเจ้าโจเซฟและพระนางมาเรียนา บิกโตเรียในวันขึ้นครองราชสมบัติ

หลังจากการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าจอห์นที่ 5 แห่งโปรตุเกส ผู้เป็นพระสัสสุระในปีพ.ศ. 2293 พระสวามีจึงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งจักรวรรดิโปรตุเกส ที่ซึ่งครอบคลุมอาณาเขตถึงทวีปอเมริกาใต้ ในรัชสมัยของพระสวามีทรงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของมาควิสแห่งพอมบาล ผู้ซึ่งเป็นที่ได้รับความไว้วางใจจากสมเด็จพระราชชนนีมาเรีย แอนนา พระเจ้าโจเซฟทรงมอบพระราชอำนาจในการปกครองแก่มาควิสแห่งพอมบาล และเขาได้ใช้อำนาจนี้กำจัดศัตรูทางการเมือง พระนางมาเรียนา บิกโตเรียและพระราชธิดาไม่ทรงนิยมชมชอบในพฤติกรรมและอำนาจของมาควิสแห่งพอมบาลที่มีเหนือพระเจ้าโจเซฟ ในรัชสมัยของพระสวามีได้เกิดเหตุการณ์ครั้งใหญ่ที่ร้ายแรงคือ แผ่นดินไหวในลิสบอน พ.ศ. 2298 ในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2298 ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 100,000 คน ผลจากมหันตภัยครั้งนี้ส่งผลให้พระเจ้าโจเซฟทรงพระประชวรด้วยโรคกลัวที่ปิดทึบ ซึ่งพระองึ์ไม่สามารถประทับในที่ที่ติดกับผนังได้ ทำให้พระราชวงศ์ต้องย้ายไปประทับที่เมืองอาจูดาโดยประทับในกระโจมบนเนินเขา มาควิสแห่งพอมบาลได้จัดการบูรณะกรุงลิสบอนใหม่

ในปีพ.ศ. 2302 ได้เกิดเหตุการณ์ "เรื่องอื้อฉาวทาวอรา" ซึ่งเป็นเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์สมเด็จพระเจ้าโจเซฟระหว่างเสด็จตามถนนในกรุงลิสบอน พระองค์ทรงถูกยิงที่พระพาหาและผู้บังคับพาหนะได้รับบาดเจ็บ แต่พระองค์ก็ทรงรอดพระชนม์ชีพมาได้ มาควิสแห่งพอมบาลได้สั่งจับกุมคนตระกูลทาวอราซึ่งมีอิทธิพลทางการเมืองที่เป็นปริปักษ์กับรัฐบาลของมาควิสในตอนนั้นและตกเป็นผู้ต้องสงสัย และเขาได้สั่งขับไล่บาทหลวงคณะเยซูอิต ที่ต้องสงสัยว่ารู้เห็นกับการลอบปลงพระชนม์ในเดือนพ.ศ. 2302 ซึ่งทั้งตระกูลทาวอราและคณะเยซูอิตล้วนยเป็นปริปักษ์กับมาควิสทั้งสิ้น มาควิสแห่งพอมบาลได้สั่งประหารตระกูลทาวอราทั้งตระกูล แต่ด้วยการแทรกแซงของพระนางมาเรียนา บิกโตเรียและเจ้าหญิงแห่งบราซิล พระธิดา ทำให้สามารถช่วยชีวิตผู้หญิงและเด็กในตระกูลนี้ได้จำนวนหนึ่ง ทำให้มาควิสไร้ซึ่งผู้ต่อต้านและเขาได้ควบคุมองค์กรสาธารณะต่างๆ และองค์การทางศาสนาและเขาได้กลายเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในประเทศ ส่วนพระเจ้าโจเซฟและพระนางมาเรียนา บิกโตเรียทรงไม่มีอำนาจในการบริหาร

ต่อมาพระสวามีทรงพระประชวรด้วยโรคเส้นพระโลหิตเลี้ยงสมองอุดตัน พระองค์ทรงแต่งตั้งพระนางมาเรียนา บิกโตเรียเป็นผูสำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2319[11] และพระนางทรงดำรงพระอิศริยยศ"สมเด็จพระราชินีนาถ" เรื่อยมาจนกระทั่งพระสวามีสวรรคตในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2320[11] หลังจากพระสวามีสวรรคต พระราชธิดาองค์โตได้ครองราชบัลลังก์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถพระองค์แรกในประวัติศาสตร์โปรตุเกสคือ สมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 1 แห่งโปรตุเกส พระนางทรงให้คำปรึกษาแก่พระราชธิดาทุกเรื่องโดยเฉพาะการปกครอง ช่วงต้นของรัชกาลพระนางมาเรียได้เนรเทศมาควิสแห่งพอมบาลออกจากประเทศ[11]

เมื่อพระราชธิดาครองราชสมบัติ พระนางมาเรียนา บิกโตเรียทรงพัฒนาความสัมพันธ์กับสเปนซึ่งพระมหากษัตริย์สเปนในครั้งนั้นเป็นพระเชษฐาของพระนางคือ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 แห่งสเปน สองประเทศได้ลงนามทางการค้าร่วมกันประเทศอาณานิคมแถบอเมริกา พระนางเสด็จออกจากโปรตุเกสในวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2320 โดยเสด็จประพาสสเปนและประทับที่มาดริดในพระราชวังหลวงอลันฮูเลสเป็นเวลาปีกว่า[12] พระนางทรงกระชับความสัมพันธ์กับสเปนโดยให้พระราชนัดดาอภิเษกสมรสกับราชวงศ์สเปน โดยเจ้าชายกาเบรียลแห่งสเปน พระราชโอรสในพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงมาเรียนา บิกโตเรียแห่งโปรตุเกส พระราชนัดดา และเจ้าหญิงคาร์ลอตา โจวควินาแห่งสเปน อภิเษกสมรสกับเจ้าชายจอห์นแห่งโปรตุเกส พระนางมาเรียนา บิกโตเรียทรงพระประชวรด้วยโรคไขข้ออักเสบโดยต้องทรงประทับรถเข็นบางครั้งในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2321 พระนางเสด็จกลับโปรตุเกสในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน พระนางทรงพระประชวรด้วยโรคพระหทัยวาย[13]และเสด็จสวรรคต ณ พระราชวังหลวงอาจูดา กรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส สิริพระชนมายุ 62 พรรษา พระศพฝังที่มหาวิหารเซา วิเซนเต

ใกล้เคียง

มาเรียม เกรย์ อัลคาลาลี่ มาเรีย ชาราโปวา มาเรียแห่งเท็ค มาเรีย เฮิร์ชเลอร์ มาเรีย โอซาวะ มาเรียนา บิกโตเรียแห่งสเปน สมเด็จพระราชินีแห่งโปรตุเกส มาเรียม อับดุล อาซิซ มาเรีย เลโอพ็อลดีเนอแห่งออสเตรีย มาเรีย ซีบึลลา เมเรียน มาเรียโน ดิอัซ